ผู้เขียน หัวข้อ: โปรแกรมหมอประจำบ้านอัจริยะ: ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonar  (อ่าน 63 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 218
  • เว็บลงประกาศขายฟรี โพสประกาศฟรี ติด google ลงประกาศขายฟรี
    • ดูรายละเอียด
โปรแกรมหมอประจำบ้านอัจริยะ: ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease/COPD)

ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง หมายถึงภาวะที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีอยู่หลายโรค ที่สำคัญได้แก่ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและถุงลมปอดโป่งพอง ทั้ง 2 โรคนี้มักจะพบร่วมกัน ทำให้มีการลดลงของอัตราการไหลเวียนของลมหายใจผ่านปอดขณะหายใจออก จึงมีอากาศคั่งค้างอยู่ในปอดมากกว่าปกติ ประกอบกับการแลกเปลี่ยนอากาศขึ้นได้น้อยกว่าปกติ (มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลง และระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงขึ้น) เป็นเหตุให้ผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อยง่าย

หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หมายถึง การอักเสบของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องเรื้อรัง เป็นผลมาจากการถูกสารพิษในบุหรี่หรือสิ่งระคายเคือง ทำให้ขนอ่อน (cilia) พิการ ไม่สามารถโบกพัดเพื่อขจัดเชื้อโรคและสิ่งระคายเคืองออกไป เมื่อเยื่อบุหลอดลมเกิดการอักเสบเรื้อรัง ก็จะทำให้เซลล์เยื่อบุหลอดลมมีการเพิ่มจำนวนและหนาตัวขึ้น รวมทั้งต่อมเมือก (mucous glands) บวมโตและหลั่งเมือก (เสมหะ) ออกมากกว่าปกติ จนทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง เกิดภาวะอุดกั้นขึ้น แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการไอมีเสมหะมากติดต่อกันทุกวันปีละมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปี

ถุงลมปอดโป่งพอง (ถุงลมพอง ก็เรียก) หมายถึง ภาวะพิการอย่างถาวรของถุงลมในปอด ปกติถุงลมอยู่ปลายสุดของปอด ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนล้าน ๆ ถุง เป็นถุงอากาศเล็ก ๆ มีหลอดเลือดหุ้มอยู่โดยรอบ เป็นที่ซึ่งเกิดการแลกเปลี่ยนอากาศ กล่าวคือ ก๊าชออกซิเจนในถุงลมซึมผ่านผนังถุงลมและหลอดเลือดเข้าไปในกระแสเลือดและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือด ซึมกลับออกมาในถุงลม ถุงลมที่ปกติจะมีผนังที่ยืดหยุ่น ทำให้ถุงลมหดและขยายตัวได้คล้ายฟองน้ำ ซึ่งช่วยให้การแลกเปลี่ยนอากาศเป็นไปอย่างเต็มที่ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมปอดโป่งพอง จะมีผนังถุงลมที่เสียความยืดหยุ่นและเปราะง่าย ทำให้ถุงลมสูญเสียหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนอากาศ นอกจากนี้ผนังของถุงลมที่เปราะยังมีการแตกทะลุ ทำให้ถุงลมขนาดเล็ก ๆ หลาย ๆ อันรวมตัวเป็นถุงลมที่โป่งพองและพิการ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ จำนวนพื้นผิวของถุงลมที่ยังทำหน้าที่ได้ทั้งหมดลดน้อยลงกว่าปกติ ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง เกิดอาการเหนื่อยหอบง่าย

ทั้ง 2 โรคนี้มักจะเกิดร่วมกัน จนบางครั้งแยกกันไม่ออก พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หลอดลมอักเสบเรื้อรังจะพบมากในช่วงอายุ 30-60 ปี ส่วนถุงลมปอดโป่งพองพบมากในช่วงอายุ 45-65 ปี ส่วนใหญ่จะมีประวัติสูบบุหรี่จัด (มากกว่าวันละ 20 มวน) มานานเป็น 10-20 ปีขึ้นไป หรือไม่ก็มีประวัติอยู่ในที่ที่มีอากาศเสีย สูดควันเป็นประจำ หรือมีอาชีพทำงานในโรงงาน หรือเหมืองแร่ที่หายใจเอาสารระคายเคืองเข้าไปเป็นประจำ

สาเหตุ

ส่วนใหญ่เกิดจากสารพิษในบุหรี่ที่สูบเข้าไปทำลายเยื่อบุหลอดลมและถุงลมในปอด ซึ่งค่อย ๆ เกิดขึ้น และลุกลามรุนแรงขึ้นอย่างช้า ๆ และในที่สุดเกิดความพิการอย่างถาวรดังกล่าวข้างต้น (พบว่าประมาณร้อยละ 15-20 ของผู้ที่สูบบุหรี่จัดจะเกิดภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง)

ส่วนน้อยอาจเกิดจากมลพิษในอากาศ (เช่น ฝุ่น สารเคมี) จากการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง และอาจเสี่ยงมากขึ้น เมื่อมีการสูบบุหรี่ร่วมด้วย   

ในบางพื้นที่ (เช่น เขตเขาทางภาคเหนือ) พบว่าเกิดจากการใช้ฟืนหุงต้มหรือก่อไฟภายในบ้านที่ขาดการถ่ายเทอากาศ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยสูดควันอยู่ประจำจนเป็นพิษต่อทางเดินหายใจ

ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหืด มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังมากกว่าคนปกติ และการสูบบุหรี่ยิ่งทำให้เสี่ยงมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังพบว่าอาจเกิดจากภาวะพร่องสารต้านทริปซิน (alpha1-antitrypsin ซึ่งเป็นโปรตีนป้องกันไม่ให้ถุงลมปอดถูกสารพิษทำลาย) ภาวะนี้พบได้น้อย สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ และมักเกิดอาการในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 40-50 ปี


อาการ

ระยะที่เริ่มเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (อาจเริ่มในช่วงอายุ 30-40 ปี) จะมีอาการไอมีเสมหะเรื้อรังทุกวันเป็นแรมเดือนแรมปี ผู้ป่วยมักจะไอหรือขากเสมหะในคอหลังจากตื่นนอนตอนเช้าเป็นประจำ จนนึกว่าเป็นเรื่องปกติ และไม่ได้ใส่ใจดูแลรักษา ต่อมาจะไอถี่ขึ้นตลอดทั้งวัน และมีเสมหะจำนวนมาก ในช่วงแรกมีลักษณะเป็นสีขาว ต่อมาอาจเป็นสีเหลืองหรือเขียว มีไข้ขึ้นหรือหอบเหนื่อยเป็นครั้งคราวจากโรคติดเชื้อแทรกซ้อน

ถ้าไม่หยุดสูบบุหรี่ จนมีโรคถุงลมปอดโป่งพองตามมา (อาจใช้เวลามากกว่า 10 ปี จากระยะเริ่มเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง) นอกจากอาการไอเรื้อรังแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่ายเฉพาะเวลาออกแรงมาก หรือเมื่อมีโรคติดเชื้อแทรก (เช่น มีไข้ ไอมีเสมหะเหลืองหรือเขียว) อาการหอบเหนื่อยจะค่อย ๆ เป็นมากขึ้น แม้แต่เวลาพูดหรือเดินหรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะรู้สึกเหนื่อยง่าย จนในที่สุด (อาจใช้เวลา 5-10 ปีขึ้นไป) แม้แต่อยู่เฉย ๆ ก็รู้สึกหอบเหนื่อย ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถหายใจแลกเปลี่ยนอากาศ (ออกซิเจน) ได้เพียงพอต่อการนำไปเลี้ยงร่างกายให้เกิดพลังงาน

ในระยะหลัง ผู้ป่วยมักมีอาการกำเริบหนักเป็นครั้งคราวเมื่อมีการติดเชื้อแทรกซ้อน ทำให้มีไข้และไอมีเสมหะสีเหลืองหรือเขียว หายใจหอบ ตัวเขียว จนต้องเขารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

บางครั้งอาจมีภาวะหัวใจวายแทรกซ้อน

เมื่อเป็นถึงขั้นระยะรุนแรง ผู้ป่วยมักมีอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลด รูปร่างผ่ายยอม และมีอาการเหนื่อยหอบอยู่ตลอดเวลา มีอาการทุกข์ทรมาน และรู้สึกท้อแท้

ภาวะแทรกซ้อน

มักมีการติดเชื้อแทรกซ้อนเป็นครั้งคราว เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ซึ่งจะทำให้มีอาการหอบกำเริบรุนแรง ระยะแรก ๆ ประมาณปีละ 1-2 ครั้ง แต่เมื่อโรคถุงลมปอดโป่งพองเป็นรุนแรงมากขึ้น ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ถี่ขึ้นจนผู้ป่วยอาจต้องเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาลบ่อย

ระยะรุนแรง ผู้ป่วยมักมีภาวะการหายใจล้มเหลวเรื้อรัง (chronic respiratory failure) ร่วมด้วย และอาจมีภาวะหัวใจวายแทรกซ้อน มีอาการหอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ หลอดเลือดที่คอโป่ง เท้าบวม ตับโต หัวใจห้องขวาล่างโต เรียกว่า โรคหัวใจเหตุจากปอด (cor pulmonale)

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ปอดทะลุ จากการที่ถุงลมส่วนนอก (ใกล้เยื่อหุ้มปอด) แตก ไอออกเป็นเลือดจากการอักเสบของหลอดลม ภาวะเม็ดเลือดแดงมาก (polycythemia ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด หรือ phrombosis) ไส้เลื่อน กำเริบเนื่องจากอาการไอเรื้อรัง เป็นต้น


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายเป็นหลัก

ในระยะแรก อาจตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน

ระยะต่อมาใช้เครื่องฟังตรวจปอดมักได้ยินเสียงอึ๊ด (rhonchi) เสียงกรอบแกรบ (crepitation) เสียงวี้ด (wheezing) และ/หรือเสียงหายใจออกยาว (prolonged expiration) ในรายที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนมักมีไข้ร่วมด้วย

ในระยะที่เป็นมากขึ้น อาจพบอาการหายใจเร็ว หน้าอกมีอาการเคาะโปร่ง (hyperresonant) และเมื่อใช้เครื่องฟังตรวจปอด จะพบเสียงหายใจค่อย (ฟังไม่ค่อยได้ยิน) เนื่องจากมีอากาศค้างอยู่ในถุงลม และลมหายใจเข้าออกได้น้อย ถ้ามีอากาศค้างอยู่ในถุงลมมาก ก็จะพบหน้าอกมีลักษณะเป็นรูปถังทรงกระบอก เรียกว่า อกถัง หรือ อกโอ่ง (barrel chest)

ในรายที่จำเป็นต้องวินิจฉัยโรคนี้ให้แน่ชัด แพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะ ทำการวัดปริมาตรอากาศหายใจ (spirometry) เพื่อประเมินสมรรถภาพของปอด* ในรายที่เป็นระยะรุนแรงอาจทำการตรวจเลือดประเมินภาวะเม็ดเลือดแดงมาก (polycythemia) ซึ่งอาจพบในผู้ป่วยบางราย ตรวจระดับออกซิเจนในเลือด (ซึ่งจะต่ำกว่าปกติตั้งแต่ระยะแรก ๆ) และคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด (ซึ่งจะสูงกว่าปกติในระยะต่อมา) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น ในรายที่อายุต่ำกว่า 40 ปีอาจตรวจหาระดับสารต้านทริปซินในเลือด

อกโอ่ง

* ดูค่า FEV1 (forced expiratory volume in one second) ซึ่งหมายถึง ปริมาตรอากาศที่หายใจออกใน 1 วินาที และค่า FVC (forced vital capacity) ซึ่งหมายถึง ปริมาตรอากาศที่หายใจออกจนสุดอย่างเต็มที่หนึ่งครั้ง

แพทย์จะประเมินจากค่า FEV1 และ FEV1/FVC (ค่า FEV1 หารด้วยค่า FVC) ซึ่งทั้ง 2 ค่านี้ถ้ายิ่งมีค่าต่ำ ก็ยิ่งบ่งชี้ว่ายิ่งมีความรุนแรง เช่น ในรายที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง มักมีค่า FEV1/ FVC < 70% และมีค่า FEV1 ≥ 80% ของค่ามาตรฐาน (ในรายที่เป็นเล็กน้อย) ระหว่าง 30-80% (ในรายที่เป็นปานกลาง) และ < 30% (ในรายที่เป็นรุนแรง)

การรักษาโดยแพทย์

นอกจากแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยแล้ว แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

1. ให้ยาบรรเทาตามอาการ เช่น ถ้ามีเสียงวี้ด (wheezing) ให้ยาขยายหลอดลม กลุ่มยากระตุ้นบีตา 2 หรือไอพราโทรเพียมโบรไมด์ชนิดสูด อย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้ร่วมกัน ถ้ามีอาการหอบตอนดึก อาจให้ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาว ในรายที่เป็นรุนแรงมักจะให้สเตียรอยด์ชนิดสูดร่วมกับยาข้างต้น

2. ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เช่น มีไข้หรือมีเสมหะข้นเหลืองหรือเขียว ก็จะให้ยาปฏิชีวนะ (เช่น อะม็อกซีซิลลิน, โคอะม็อกซิคลาฟ, อีริโทรไมซิน, ร็อกซิโทรไมซิน, ดอกซีไซคลีน, โคไตรม็อกซาโซล เป็นต้น) นาน 7-10 วัน

3. ในรายที่มีอาการหายใจหอบรุนแรง หรือสงสัยเป็นปอดอักเสบ ปอดทะลุ หรือภาวะหัวใจวาย แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล ให้การรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ อาจต้องให้ออกซิเจน ใส่ท่อหายใจ และใช้เครื่องช่วยหายใจ

ผลการรักษา ขึ้นกับระยะและความรุนแรงของโรค ถ้าเป็นระยะแรก (FEV1 > 50% ของค่ามาตรฐาน) และผู้ป่วยสามารถเลิกบุหรี่ได้เด็ดขาด ก็มักจะได้ผลดี โรคจะไม่ลุกลามรุนแรงมากขึ้น แต่ถ้าปล่อยให้ลุกลามจนถึงระยะรุนแรง (สมรรถภาพของปอดลดลงอย่างมากแล้ว คือ FEV1 < 30% ของค่ามาตรฐาน) ก็มักจะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน (เช่น ภาวะการหายใจล้มเหลว ปอดอักเสบ ปอดทะลุ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดแดงปอด เป็นต้น) ภายใน 1–5 ปี โดยเฉลี่ยผู้ป่วยทุกระดับของความรุนแรงมีอัตราตายมากกว่าร้อยละ 50 ใน 10 ปีหลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก

การดูแลตนเอง

หากมีอาการไอและเหนื่อยง่ายอย่างเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่สูบบุหรี่ หรืออยู่ในบรรยากาศที่มีฝุ่นควันนานๆ  ควรปรึกษาแพทย์

หากตรวจพบว่าเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือถุงลมปอดโป่งพอง ควรดูแลตนเอง ดังนี้

1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ที่สำคัญคือ เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด และหลีกเลี่ยงมลพิษในอากาศ ดื่มน้ำมาก ๆ (วันละ 8-12 แก้ว) เพื่อช่วยขับเสมหะ

2. ใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ โดยเรียนรู้วิธีใช้ยาที่ถูกต้อง และติดตามการรักษาตามที่แพทย์นัดอย่างต่อเนื่อง

3. ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีไข้สูง หรือมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย 
    เจ็บหน้าอกมาก หายใจหอบหรือหายใจลำบาก   
    ไอมีเสมหะข้นเหลืองหรือเขียว หรือไอเป็นเลือด
    เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
    มีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น นอนราบไม่ได้ (เพราะรู้สึกหายใจลำบาก) หรือเท้าบวม
    ใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ 2-3 วันแล้วไม่ดีขึ้น 
    หลังกินยา มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
    มีความวิตกกังวล

การป้องกัน

1. ที่สำคัญคือ การไม่สูบบุหรี่

2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีมลพิษในอากาศ

3. หลีกเลี่ยงการใช้ฟืนก่อไฟภายในบ้านที่ขาดการถ่ายเทอากาศ

4. ถ้าเป็นโรคหลอดลมอักเสบและโรคหืด ควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง


ข้อแนะนำ

1. ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ควรหมั่นพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเริ่มมีอาการไอบ่อยทุกวันโดยไม่มีสาเหตุอื่นชัดเจน

2. ผู้ที่เริ่มเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรังหรือภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังในระยะแรกเริ่ม ควรเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด จะช่วยให้อาการไม่ลุกลามมากขึ้น ผู้ป่วยควรติดตามการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อหาทางช่วยให้เลิกบุหรี่ ให้ยาบรรเทาตามอาการ ประเมินสมรรถภาพของปอดและภาวะแทรกซ้อนเป็นระยะ ๆ

3. ผู้ป่วยและญาติควรศึกษาให้เข้าใจถึงธรรมชาติของโรคและแนวทางการดูแลรักษา ญาติควรเข้ามามีบทบาทในการให้กำลังใจผู้ป่วย ในการเลิกบุหรี่และการติดตามรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดูแลเรื่องโภชนาการ (ผู้ป่วยระยะรุนแรงมักมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซึ่งจะทำให้ซ้ำเติมอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น) การให้ออกซิเจนที่บ้าน (สำหรับผู้ป่วยระยะรุนแรง) การใช้ยารักษาให้ครบถ้วนตามที่แพทย์กำหนด การพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันทีที่สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน และการเตรียมพร้อมในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (end of life) ให้มีคุณภาพ ลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย และไม่ให้สิ้นเปลืองเกินเหตุ

4. โรคถุงลมปอดโป่งพอง อาจมีอาการหายใจหอบและได้ยินเสียงวี้ดคล้ายโรคหืด แต่ต่างกันตรงที่ถุงลมปอดโป่งพองจะเริ่มมีอาการในคนอายุ 50-60 ปีขึ้นไปที่มีประวัติสูบบุหรี่จัดหรือถูกมลพิษทางอากาศมาเป็นเวลานาน และมีอาการหอบเหนื่อยรุนแรงขึ้นทีละน้อยอย่างช้า ๆ (ใช้เวลานาน 5-10 ปีขึ้นไป) ส่วนโรคหืดมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่วัยเด็ก มักมีประวัติโรคหืดหรือโรคภูมิแพ้ในครอบครัว และมีอาการหอบกำเริบเป็นครั้งคราว บางครั้งก็อาจแยกกันไม่ได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบในคนอายุมาก อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 โรคนี้มีแนวทางการดูแลรักษาคล้ายกัน และควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์เป็นหลัก

 






















































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า